อย่ารีบทำสไลด์เป็นอันดับแรกเมื่อต้องเตรียมตัวนำเสนอ

Untitled 25.001.jpeg

วันนี้ขณะกำลังขับรถกลับบ้าน รถติดที่รัชดา-ลาดพร้าว เลยเปิดรายการวิทยุทางอินเตอร์เน็ต หาอะไรฟังแก้เซ็งฆ่าเวลาไปเรื่อยเปื่อย ดันไปสะดุดตาเข้าให้กับการให้สัมภาษณ์ของ Garr Reynolds ผู้เขียนหนังสือชื่อ Presentation Zen หนังสือที่เปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนออย่างชิ้นเชิง ให้หลุดออกจากกรอบสี่เหลี่ยมจนพบโอกาสดีๆมากมายเช่น โอกาสก้าวหน้าทางด้านการงานและค้นพบศักยภาพบางอย่างที่ซ่อนอยู่ จนมีคนเชิญไปแบ่งปันประสบการณ์อยู่บ้างตามสมควร

Garr ซึ่งเป็นกูรูด้านการนำเสนอแถมยังเคยทำในกับ Apple สมัยที่ Steve Jobs ยังมีชีวิตอยู่ว่า Presentation ของ Apple ไม่ได้ดีที่สไลด์ ไม่ได้ดีเพราะ Visual แต่มีดีที่ซุป อุ่ยยยย มีดีเนื้อหา (Content) ต่างหาก

อันนี้ผมขอเสริมต่อนิดหน่อยว่า เคยได้ยิน Nancy Duarte ที่กูรูด้าน”การนำเสนอ”อีกคน อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า การเปิดตัว iPhone เมื่อปี 2007 นั้นเป็นการวางโครงสร้างที่ดีมาก โดยมีการเคลื่อนที่เล่าเรื่องที่น่าสนใจ เธออธิบายว่าจุดสำคัญของเรื่องนี้อยู่จุด 2 จุดที่เชื่อมต่อกันไปมาระหว่าง What is? และ What could be? แปลเป็นไทยอีกทอดหนึ่งว่า ตอนนี้เป็นยังไงอยู่ และมันจะเป็นยังไงต่อไป ย้ำอยู่ประมาณนี้หลายรอบสำหรับการนำเสนอครั้งนั้น คือก่อนหน้านี้โทรศัพท์เป็นไง แล้วมันควรจะเป็นแบบไหนในอนาคต เรียกง่ายๆว่า before and after คนส่วนใหญ่ชอบเนื่อหาแบบนี้ ไม่เชื่อลองไปค้นหากระทู้เด็ดในพันทิปก็ได้ คนหนักร้อยกว่าโล กลายมาเป็นนักกล้ามหุ่นล้ำพร้อมหกก้อนที่หน้าท้อง คนที่ดูธรรมดาแต่หน้าตาสวยเป็นคนละคน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวของคนที่เคยจนแบบแทบขาดใจกลายมาเป็นเศรษฐี

Garr เล่าต่อว่า คนส่วนใหญ่เมื่อต้องทำการนำเสนอ พอถึงเวลาเตรียมตัวมักจจะนึกถึงแต่เรื่อง Visual เช่น จะใส่รูปอะไรดี จะใส่กราฟนี้ดีมั้ย หรือจะทำเอา Template สไลด์แบบไหนดี เขาถามผู้สัมภาษณ์ว่า คุณว่า ผู้กำกับหนังพอจะสร้างหนังซักเรื่อง เขารวมทีมตากล้องพร้อมนักแสดงออกกองไปถ่ายทำเลยหรือเปล่า

อะไรคือสิ่งที่ต้องทำก่อนการถ่ายทำ? ผู้สัมภาษณ์ตอบว่า ก็ต้องมีบท มีเนื้อเรื่อง มีสคริปต์ มี storyboard กันก่อน ไม่งั้นถ่ายทำไปก็ไม่มีความหมายเพราะจะถ่ายฉากไหน พระเอกจะพูดอะไร นางเอกจะทำอะไร ก็ยังไม่รู้เลย เสียเวลากันเปล่าๆ

Garry เลยเสริมต่อก็นั่นไง ไม่ว่าจะเป็น Disney, Pixel หรือค่ายไหนก็ตามแต่ เริ่มต้นที่ Content ก่อน หนังสนุกได้เพราะเนื้อเรื่อง ส่วนองค์ประกอบอื่นๆเช่น ฉากสวย มุมกล้องเด็ด บทพูดเจ๋ง เป็นตัวเสริมให้มันสมบูรณ์แบบ

ดังนั้นถ้าต้องทำการนำเสนอสิ่งควรทำคือการร่างไอเดีย การรวบรวมข้อมูล การตกผลึกประเด็น การเคาะเฉพาะสิ่งที่สำคัญแยกออกจากสิ่งที่รกรุงรัง การวางเนื้อเรื่อง การจัดโครงสร้างอะไรก่อนอะไรหลัง นั่นแหละคือสิ่งที่ต้องทำก่อน เพราะการนำเสนอบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้สไลด์ ผมเสริมไอเดียตรงนี้นึงว่า สไลด์เป็นแค่ผู้ช่วย แต่ถ้าทำห่วยๆพระเอกก็แพ้ได้นะ ถ้าไลด์ดูดีแต่เนื้อเรื่องดูไม่จืดอันนี้ก็ไม่ไหว ความเห็นส่วนตัวของผมก็คือ เนื้อหาสำคัญที่สุด สไลด์กับการพูด ลีลา ท่าทางสำคัญแต่มาทีหลังได้ และถ้าสองเรื่องหลังนั้นดีด้วยก็จะช่วยให้การนำเสนอนั้นยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น

ผมพบว่าหากเราทำงานในส่วนของเนื้อหาด้วยระบบอัตโนมือเวิร์คที่สุด นั่นหมายถึงกระดาษ ปากกา ดินสอสี White board หรือ post it พอมันตกกตะกอนไอเดียรู้เรื่องแล้ว ไปเปิดคอมพิวเตอร์ทีหลังก็ยังทัน เพราะทุกอย่างมันถูกสรุปในกระดาษเรียบร้อยแล้ว

สรุปสาระสำคัญจากสิ่งที่เล่ามาคือ

  1. จัดเตรียมเนื้อหาให้แน่น วางโครงสร้างให้ดี คำนึงถึงเวลาที่มีด้วย
  2. จัดทำสไลด์ไล่เรียงตามเนื้อหาที่วางไว้ เอาแบบที่เรียบง่ายไม่ต้องเยอะแต่ตรงประเด็น
  3. ทำแผนการนำเสนอว่าสไลด์แต่ละแผ่นใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องพูดเน้นเรื่องอะไร
  4. ฝึกซ้อมก่อนนำเสนอเสียก่อนเพื่อขัดเกลาให้ลื่นไหลแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด

สำหรับใครที่สนใจอยากเรียนการทำสไลด์พรีเซ็นเทชั่นให้โดดเด่นเพื่อการนำเสนอ ผมร่วมกับคุณ อังก์ เทียน เท็ค ชาวสิงค์โปร์ที่เป็นผู้แต่งหนังสือชื่อ SPINING IDEAS  ที่ผมและอ.ธงชัย โรจน์กังสดาล เป็นผู้แปลร่วมกัน ได้จัดเปิดคอร์สที่เปิดให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเรียนรู้ในวันที่ 3-4 มิถุนายน 2560 นี้ที่โรงแรมพูลแมนจี สีลม สำหรับท่านที่สนใจ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์นี้ ผมเปิดหลักสูตร Public แค่ปีละครั้งสองครั้งเท่านั้นเพราะผมสอนให้กับองค์กร (In-house) เป็นหลักครับ

ขอให้มีความสุขกับการสไลด์เพื่อการนำเสนอให้โดนใจและประสบความสำเร็จ ไว้พบกันใหม่โพสต์หน้านะครับ

เบญจ์ ไทยอาภรณ์
www.PresentationBen.com
FB.me/PresentationCafe
Credit : Unsplash.com

 

 

1 thought on “อย่ารีบทำสไลด์เป็นอันดับแรกเมื่อต้องเตรียมตัวนำเสนอ

  1. Pingback: 7 เครื่องมือเพื่อการนำเสนอให้ถูกสนอง | PresentationBen.com

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s