ผมสงสัยอยู่นานพอสมควรว่าเหตุอันใดตอนสไลด์เข้ามาอิทธิพลในชีวิต เริ่มตั้งแต่ยุคการจากหายไปของแผ่นใสกับเครื่องฉายแบบโอเวอร์เฮด Powerpoint ก็ค่อยๆมีพัฒนาการมาเรื่อยๆ จนพอถึงจดหนึ่งที่อิ่มตัวของรูปแบบเดิมที่เคยเห็นอาจารย์ใช้สอนตอนเรียนมหาวิทยาลัย และเริ่มใช้เองเป็น ก็พบว่ามันมีบางอย่างคอยชี้นำว่า การขึ้นหัวข้อต้องทำแบบนี้ หัวข้อรองต้องตามด้วยแบบนี้ การใส่ภาพต้องแนวนี้ กราฟถูกบังคับให้ใช้ตามมีตามเกิดเพราะแทบทุกอย่างถูกจูงไว้เรียบร้อยแล้ว
จนกระทั่งวันหนึ่งเห็น Steve Jobs เปิดตัว iPhone ครั้งแรกในปี 2007 ปัญญาก็บังเกิดว่า อ้าวสไลด์มันทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ รูปใหญ่ๆตัวหนังสือน้อยๆมีแต่ Keyword ที่สำคัญ รูปประกอบกราฟฟิคต่างๆทำไมมันช่างหน้าตื่นตาตื่นใจเสียจริง หรือแม้กระทั่งพื้นหนังที่ไล่สีจากสีน้ำเงินเข้มจนเป็นสีดำ เขาเซ็ดตัว Powerpoint ยังไงกันนะ
สุดท้ายก็ค้นพบว่า เขาไม่ได้ Powerpoint แต่ใช้ Keynote ที่ทำงานกับเครื่อง Mcintosh เอาละสาระไม่ได้อยู่ตรงนี้ที่จะมาเล่าให้ แต่อยู่ตรงที่ ทำไมผู้คนที่เคยชินกับรูปแบบของสไลด์ที่คุ้นตาก็เพราะความคุ้นเคยต่างหาก ที่พอเปิดสไลด์หน้าแรกมามันก็เจอหน้านี้เสียแล้ว มันเหมือนถูกบังคับให้ต้องเริ่มต้นแบบนี้ทุกที

Default สไลด์หลังจากคลิ๊ก New Slide
ดังนั้นสิ่งที่แนะนำสำหรับผู้ที่อยากเปลี่ยนแปลงรูปแบบสไลด์ให้เป็นอีกแนว ช่วยให้หลุดออกจากความซ้ำซากจำเจ ไม่ควรเริ่มต้นสไลด์แรกด้วยสิ่งที่เรียกว่า default คือ โปรแกรมกำหนดอะไรมาให้ก็ใช้แบบนั้นไปนั่นแหละ แต่แนะนำให้เริ่มต้นด้วยสไลด์แรกด้วย “ความว่างเปล่า” เพราะจะช่วยให้กรอบที่คอยผูกมัดเอาไว้หายไปและช่วยให้เราเกิดจินตนาต่างตามแต่ความคิดสร้างสรรค์จะพาไป
ลองดูนะครับนี่คือตัวอย่างที่ผมเริ่มต้นด้วยสไลด์แบบว่างเปล่า ค่อยๆคิดค่อยๆดู ค่อยๆทำไป ช่วยให้สไลด์หลุดออกจากความจำเจและแตกต่างจากที่เคยเป็นอย่างไม่น่าเชื่อ
เริ่มแบบนี้แรกๆอาจจะแปลกๆ แต่พอทำไปเรื่อยๆ ผมพบว่ามันยอดมากที่เริ่มต้นด้วยสไลด์แรกแบบนี้ ลองเอาลองใช้กันดูตามความเหมาะสมนะครับ