วันก่อนผมเข้าชั้นเรียนคอร์สวิทยานอกกรอบที่เป็นผู้จัด มีผู้เรียนท่านหนึ่งที่เข้าเรียนชื่อ อาจารย์แป้ง ดร.มนสิชา มาแชร์ไอเดียให้ฟังว่าเราจะทำสไลด์ที่มีตัวหนังสือเยอะๆแยะๆให้น่าดูขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างที่อาจารย์แป้งแสดงให้ดูในห้องนั้นน่าทึ่งมาก
พอได้ยินเรื่องดังกล่าวผมก็พยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพราะเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์จึงอยากสรุปการเรียนเรื่องนี้เขียนเป็นโพสต์เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้กับสไลด์สำหรับการนำเสนอต่อไป
- พยายามย่อยข้อมูลหรือตัวหนังสือว่าแท้ที่จริงแล้ว แก่นหรือว่าใจความสำคัญของสไลด์นั้นคืออะไร ใช้ Keyword มาทดแทนได้หรือไม่
- ทดลองตัดเอาคำฟุ่มเฟือยที่มีในสไลด์ออกไป เช่นพวกคำเชื่อมต่างๆออกไป จะช่วยให้มีช่องทางทำให้จำนวนตัวหนังสือลดลงได้มากทีเดียว
- หากไม่สามารถตัดคำต่างๆออกไปได้แล้ว ให้ทดลองจัดกลุ่มของเนื้อหาต่างๆออกเป็นกลุ่มย่อยๆ แบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆแล้วเลียนแบบการวาง Layout ให้เหมือนนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์
- เวลาเราอ่านหนังสือ ยิ่งออกแนวขวางมากเท่าไหร่ เราจะรู้สึกว่าทำไมมันเยอะและยาวขนาดนั้น ลองทดลองจัดกลุ่มเป็นคอลัมน์ให้เป็นแนวตั้ง จะช่วยให้มีความรู้สึกว่า ตัวหนังสือไม่เยอะจนเกินไป
- เน้นหัวข้อด้วยสีหรือลักษณะตัวอักษรแบบหนาหรืออาจใช้ไอคอนต่างๆมาประกอบจะช่วยให้สไลด์ดูน่าสนใจมากกว่าจะเป็นแค่ตัวหนังสือล้วนๆ
- พยายามหาตัวอย่างการวาง Layout แบบต่างๆจากสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มเติม จะช่วยให้เรามีไอเดียหรือเห็นแนวทางในการปรับปรุงสไลด์ได้ดียิ่งขึ้น

สไลด์ก่อนปรับปรุง
พอลองได้ไอเดียผมก็ลองมาปรับรูปแบบดูว่ามีแนวทางอะไรช่วยให้สไลด์ดูสะอาด โล่งขึ้นแล้วทำให้น่าอ่านหรือน่าชมขึ้นบ้างหรือไม่ และด้านล่างนี่คือสไลด์ที่ปรับปรุงแล้ว
มีการใช้รูปทรงต่างๆมาช่วยทำให้ดูดีขึ้น ผมเลือกใช้รูปประกอบโดยล้อมกรอบในวงกลม แบ่งหัวข้อออกเป็น 3 คอลัมน์ ทำหัวข้อให้ชักเจนขึ้นด้วยตัวหนาและใช้ไอคอนเพื่อเน้นย้ำหัวข้อต่างๆเหล่านั้นด้วย

สไลด์หลังปรับปรุงแล้ว
สุดท้ายก็คงขอขอบคุณอาจารย์แป้ง มากๆที่จุดประกายให้ผมได้เห็นการปรับปรุงแนวทางในการทำสไลด์หรือได้นำความรู้นี้ไปเผยแพร่ต่อไปครับ
http://www.PresentationBen.com