แนวโน้มดีไซน์ของสไลด์ที่รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย

Design 2017.001.jpeg

ผมติดตามอาจารย์รุ่นพี่ท่านหนึ่งบน facebook ที่มีโอกาสเดินทางไปทั้งไปทำงาน ไปพักผ่อน แม้กระทั่งไปสัมมนาในต่างประเทศ และเกือบทุกครั้งที่มีการสัมมนา ท่านก็กรุณาถ่ายภาพสไลด์และสรุปเนื้อหาต่างๆมากมายให้ผมได้เพิ่มพูนและอัพเดทแนวโน้มอะไรใหม่ๆสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ครั้งหนึ่งท่านเคยโพสต์ไว้ว่าให้ความสำคัญของการสอนและนำเสนอในทุกๆองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา วิธีการ การส่งมอบหรือแม้กระทั่งสื่อ(สไลด์)ที่ใช้ เพราะทุกๆครั้งที่มีการอัพเดทสถานะผมก็จะได้ตื่นตาตื่นใจไปกับสไลด์หลายๆแบบที่องค์กรและ speaker ระดับโลกเลือกนำมาใช้

ผมพยายามรวบรวมและประมวลผลด้วยตนเองจากความเข้าใจและประสบการณ์ที่พอมีอยู่บ้าง โดยแกะสไลด์สำเร็จรูปเหล่านั้นว่ามีองค์ประกอบการออกแบบแนวไหน ซึ่งอยากจะออกตัวว่านี่คือความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านครับ

1) Flat designed : จากการที่ Google เปลี่ยนโลโก้ที่หน้าเว็บเมื่อไม่กี่ปีมานี้ การที่ไอคอนต่างๆบนไอโฟนเปลี่ยนรูปแบบมาเป็น Flat designed แม้กระทั่งรูปแบบตัวอักษรก็เปลี่ยนจากฟอนต์แนว Serif มาเป็นแบบ Sans Serif ดังนั้นผมจึงเห็นสไลด์ในรูปแบบเรียบแบนไม่ค่อยมิติอะไรเท่าไหร่น่าจะยังคงอยู่ซักพักใหญ่ๆ

Screen Shot 2017-02-16 at 21.06.09.png

Source : wikipedia

2) ภาพใหญ่เต็มสไลด์ : อันนี้ผมก็เห็นจากหลายๆที่รวมถึงพวกสื่อออนไลน์ทั้งหลายแหล่ไม่ว่าจะเป็นโพสต์บน facebook ว่าเขานิยมใช้รูปที่ขยายเต็มสไลด์พร้อมแคปชั่นเป็นหัวข้อพอประมาณให้รู้ว่าเรากำลังพูดถึงอะไร แต่ไม่ค่อยมีตัวหนังสือรายละเอียดเยอะแยะเหมือนพวกรายงานต่างๆ เพราะตัว Speaker เองคงอยากจะให้โฟกัสที่ตัวเขามากกว่าที่สไลด์ ดังนั้น สไลด์จึงหน้าที่เป็นฉากประกอบขับให้ผู้พูดดูน่าสนใจขึ้น แต่อย่างไรก็ดีผมก็เห็นบางดีไซน์ที่ยังต้องมีตัวหนังสือเยอะมากๆอยู่ แต่เท่าที่รู้ผมเห็นสไลด์แบบ Bullet slide มีแนวโน้มที่จะลดลง โดยไปใช้วิธีการออกแบบเรียงตัวหนังสือเสียใหม่ 

Screen Shot 2017-02-16 at 21.15.02.png

ภาพใหญ่เต็มสไลด์

3) รูปทรงประกอบไอคอน : อันนี้ผมเห็นมาซักพักใหญ่ๆแล้วเพราะเริ่มเห็นพวก Clip art สำเร็จรูปประเภทพวกลูกโลก ไม่ก็คนจับมือกัน เริ่มทยอยหายไปเรื่อยแบบกู่ไม่กลับ และเริ่มเห็นสไลด์ประมาณว่ามีไอคอนและรูปทรง (Shape) มาอยู่ในสไลด์แทน อันนี้ก็รับกับข้อ 1 เรื่อง Flat designed ซึ่งน่าจะเป็นแนวๆนี้ไปอีกพักนึงเหมือนกันเนื่องจากหลังๆ Infographic นั้นยังแรงดีไม่มีตก เคยลองใช้ Keynote ร่ายมนต์ทำ Infographic อยู่ 2-3 โพสต์ ลองเข้าไปอ่านดูครับ

Screen Shot 2017-02-16 at 21.29.57.png

Shapes & iCon

4) รูปทรงประกอบตัวหนังสือ : การใช้รูปทรงต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปทรงแบบธรรมดาหรือแม้กระทั่งแบบซับซ้อนไว้เป็นพื้นหลังยังคงเห็นได้บ่อยๆ ส่วนตัวแล้วดีไซน์แบบนี้คาดว่าน่าจะยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

Screen Shot 2017-02-16 at 21.31.59.png

Shape & Text

Screen Shot 2017-02-16 at 21.38.00.png

Shape & Text

Cover.jpg

Shape & Text

5) ตัวหนังสือที่มีลูกเล่น : อันนี้ก็พอจะเห็นใน facebook บ่อยๆลองดูภาพบนหรือไม่ก็ภาพประกอบโพสต์นี้ด้านบนสุดคือมีการเอียงตัวหนังสือให้ดูทแยงนิดๆอะไรประมาณนี้ ไม่ก็พวกเล่นกับตัวหนังสือและภาพพื้นหลัง ผมว่าแนวโน้มแบบนี้ยังไงก็ยังอยู่ต่อไปได้เพราะว่าบางครั้งตัวหนังสือ (Typography) ประกอบสไลด์ถ้าไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นก็อาจจะดูเรียบจนอาจไม่น่าสนใจ

Slide21.jpg

Typographic design

Slide22.jpg

Typographic design

Slide18.jpg

Typographic design

6) แสดงข้อมูลด้วย Infographic : การแสดงผลแบบนี้ช่วยให้ดูน่าสนใจและแนวโน้มสไลด์แบบเริ่มจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆตราบใดที่ผู้นำเสนอสามารถจับประเด็นได้ดีและนำมาสรุปย่อสาระสำคัญด้วย graphic ช่วยให้สไลด์นั้นลดความน่าเบื่อลงได้เยอะมากๆ ลองศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมก็ได้ครับ ผมว่าอันนี้ยังคงมาแรงแม้จะผ่านมาพักหนึ่งแล้วก็ตาม

Untitled 6.001.jpeg

Infographic slide presentation

สำหรับวันนี้คงต้องขอตัวก่อนละกันครับ ไว้พบกันใหม่โพสต์หน้า ขอให้มีความสุขกับการทำสไลด์ประกอบการนำเสนอกันทุกๆท่านครับ

ขอบคุณ ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ สำหรับแรงบันดาลใจในการเขียนโพสต์นี้ของผมครับ

เบญจ์ ไทยอาภรณ์
http://www.PresentationBen.com
FB.me/PresentationCafe

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s