เปลี่ยนสไลด์สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ดูเข้าท่าด้วยเทคนิค ESP

ขอบคุณทีมเมืองนวัตกรรมอาหาร Food Innopolis สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ที่ให้เกียรติเชิญมาสอนผู้ประกอบการมากมายนับเป็น 10 รุ่นตั้งแต่6-7 ปีที่แล้วมากระทั่งถึงปัจจุบัน รอบนี้เป็น Startup อาหารสายสุขภาพและ IOTs เพื่อเตรียมตัวสู่การ Pitchในสถานการณ์ต่างๆเช่น Demo day Pitch เพื่อขอเงินทุนจาก Angel Investor นักลงทุนหรือ VC Firm บางแห่ง 

ก่อนที่จะได้มาพบปะกับ Startup จะขอดู Pitching deck เป็นอันดับแรกถ้าเข้าเค้าค่อยเรียกมาคุยกันต่อดังนั้นสไลด์จึงเป็นด่านแรก ที่เขาจะเห็นก่อนที่จะเจอกันเสียอีก ภาคเช้าเลยจัด Workshop ลงมือปฏิบัติในการเริ่มต้น สร้างสไลด์จากไอเดียที่มีอยู่ผ่านแบบฝึกหัดต่างๆที่เป็นระบบจากประสบการณ์ตรง

และตำราหลายเล่มที่อ่านประจำ โดยใช้ ESP- Conceptual Framework ที่รวบรวมจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า ผู้ประกอบการหรือ Start up มักจะมีปัญหาที่ซ้ำๆกันบ่อยๆ

1) E – Easy to understand

เวลาแปลงข้อมูลหรือเนื้อหาต่างๆที่อยู่ในหัวออกมาเป็นสื่อให้กับผู้ฟังไม่ต้องคิดอะไรมากไม่ต้องสวย ไม่ต้องตกแต่ง ไม่ต้องแฟนซี ไม่ต้องแอนิเมชั่น ไม่ต้องสีสันสดใสอะไรทั้งนั้น อันดับแรกต้องมีกลวิธี ในการทำสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้เห็นภาพปุ๊บแล้วเข้าใจง่าย สื่อทันทีที่เห็น ไม่ต้องใส่ทุกคำพูดที่อยากจะเล่าลงไปในสไลด์ เพราะคนฟังอาจจะไม่อยากอ่าน และถ้าเขาอ่านเข้าใจได้ด้วยตัวเอง จะมีเราอยู่บนเวทีทำไมกัน สไลด์อาจจะต้องขยันทำซัก 2 ชุดที่คล้ายๆกัน ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์ เช่น ชุดแรกอาจจะใส่เนื้อหาเยอะหน่อย แต่อย่าให้ออกมาเป็นลักษณะเป็นสไลด์สไตล์เอกสาร (Document slide) อาจจะต้องปรับแต่งให้มีลักษณะเป็น Visual มากขึ้นหน่อยหรือเรียกง่ายว่า สไลด์สไตล์อินโฟกราฟิก เพราะสไลด์ชุดนี้เราอาจจะต้องส่งให้นักลงทุนทุนดูก่อนเป็นอันดับแรกดังนั้นเราไม่ได้ตามไปด้วยจึงต้องทำสไลด์แบบนี้เพื่อให้เขาอ่าน สลได์อีกชุดเอาไว้ใช้งานตอนขึ้นเวทีแล้ว จริงๆก็คือเอาสไลด์ชุดนั้นมาถอดรูปออก เอาตัวหนังสือที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้ออกแนวมินิมอลหน่อย เพราะสไลด์ชุดนี้เราต้องเอาไปใช้บนเวทีที่มีเวลาจำกัด ข้อควรระวังของสไลด์ชุดที่ 2 ก็คือ อย่าเฉลยทุกอย่างจนหมดเพราะเวลาขึ้นเวทีเรามีโอกาสได้อธิบาย นำเสนอด้วยตัวเอง ดังนั้นคนฟังควรจะโฟกัสที่เราไม่ใช่อ่านสไลด์ที่อยู่ด้านหลัง

2) S – Stand out

ลำดับถัดมาคือการทำให้ไอเดียหลักในสไลด์แผ่นนั้นเด้งขึ้นมา ป๊อบขึ้นมาให้เห็นชัดๆ เด้งๆไม่ใช่กลืนไปกับพื้นหลังหรืออ่านไม่ออก มองไม่ชัด ตรงนี้มีการอธิบายการใช้สี การทำให้ขนาดแต่งต่าง การไฮไลท์ด้วยเทคนิค หลายๆอย่างว่า คนฟังควรจะโฟกัสอะไร ในสไลด์แผ่นนี้ ตัวอย่างก็คือสไลด์ด้านล่างนี้ ใช้เทคนิคในการทำให้วัตถุต่างๆจางลง แล้วไฮไลท์สิ่งที่เราต้องการเน้นให้ชัดเจนกว่าวัตถุอื่นๆ

3) P – Professional Look.

อันดับสุดท้ายคือเรื่องที่ เรามักจะเข้าใจผิดว่า สไลด์ที่ดีคือสไลด์ที่สวย ดูเดิ้นๆหรือหวือหวา แต่จริงๆแล้วส่วนตัวอยากจะบอกว่าสไลด์สวยๆแต่ไม่สื่ออะไรก็ สวยแต่รูปจูบไม่หอม ดูไม่รู้เรื่อง

BEFORE

เลยปูพื้นบอกผู้เรียนว่าไปทำ 2 อย่างแรก ให้เรียบร้อยก่อนถ้าคิดว่าผ่านแล้วค่อยมาดูเรื่องความสวยงามความเป็นมืออาชีพทีหลังเลย ตรงนี้ให้เทคนิคไปเยอะมาก เท่าที่เวลาเอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาไอเดีย การประยุกต์ใช้รูปทรง ใน PowerPoint เพื่อสร้าง Diagram ารใช้สีอย่างมืออาชีพ และการเช็คความเข้ากันได้ของสีว่าโอเคมั้ย แหล่งการดาวน์โหลดภาพที่เป็น Public domain การหาไอคอน ประกอบสไลด์และการปรับแต่ง

AFTER

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เป็นสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์แพทย์ ดร.ทางเภสัชศาตร์ ศาตราจารย์สายวิจัย ก็เลยบอกว่าไม่ต้องตกใจ เราเข้าใจทุกท่านดี ผมเคยเป็นวิศวกรในโรงงานผู้ห่วงหวงข้อมูลและเนื้อหามาก่อน เอาสไลด์ที่เคยใช้ เมื่อสิบกว่าปีก่อนให้ดู ว่ามันแก้กันได้

พอตกบ่ายเข้าที่เข้าทาง คลายความกังวลแล้ว เลยมีความจำเป็น ต้องเปิดโรงงานแต่ไม่ใช่โรงงานผลิตสินค้า “โรงงานรับซ่อมสไลด์” ที่อาการเกินครึ่งของผู้เรียนไม่ใช่การซ่อมระดับปกติ ถ้าคนเคยอยู่สายซ่อม มาก่อนจะเข้าใจว่าโรงงานนี้ต้องยกเครื่องซ่อมบำรุงระดับ Major overhaulกันเลยทีเดียว

โชคดีมากที่พี่ๆน้องๆ ผู้ประกอบการทั้งหมดเปิดใจเรียนรู้ ปล่อยวางทุกทุกสิ่งเอาไว้ เลยทำให้การซ่อม ผ่านไปได้ด้วยดี เมื่อวานพอเห็น Before / After เลยได้กลับบ้าน แบบหัวใจพองฟู นอนหลับสบาย จนตื่นสายมากในวันนี้

Untitled design

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s